เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อ.เมืองจันทร์, จ.ศรีสะเกษ 33120, Thailand
รับรองโดย อ.mujjalin //mailto:gorn001@gmail.com

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักการดูพระเครื่องเพื่ออาราธนาขึ้นคอ

ในมุมมองของนักสะสมพระเครื่องนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมและราคา เพื่อบ่งบอกถึงฐานะของผู้บูชาสวมใส่ด้วย และพุทธคุณที่ปรากฎออกมาเป็นประจักษ์อันยาวนาน
ในฐานะที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามาพอจะเป็นแนวทางบ้างไม่มากก็น้อย อันอาจจะเป็นประกายฉุดให้หลายๆท่านที่พึ่งเข้าสู่วงการพระเครื่องและเครื่องรางวัตถุมงคล ได้เป็นแนวทางในการเลือกหาพระเครื่อง หรือเครื่องรางสักองค์ สักชิ้นขึ้นสู่คอ เพื่อความอบอุ่นใจเป็นกำลังใจ และเพื่อพระพุทธคุณในสิ่งที่เรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น
เมื่อเรามองด้วยตาในหรือเมื่ออาราธนาแล้วไม่ปรากฎออกมาให้เราสัมผัสได้ก็ใช้ขัน 5 (ดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่) จัดใส่พานแล้วนำพระวางลงอาราธนาตามโพสต์แรกที่ผู้เขียนได้นำเสนอจากนั้นก็กล่าววาจาอันเป็นมงคลเชื้อเชิญพระพุทธคุณที่สถิตในองค์พระเครื่องนั้น
หากอยากทราบว่าพระองค์ที่เราจับขึ้นมาส่องดูนั้นเป็นพระแท้หรือไม่นั้นจำเป็นต้องสะสมการศึกษาจากรูปภาพและองค์จริงที่เราเชื่อถือได้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือเนื้อ-วัสดุที่สร้างองค์พระนั้นขึ้น หากเป็นพระเก่าที่เป็นพระกรุแล้วย่อมเกิดสนิมและคราบไขกรุ ที่แห้งแสดงถึงการผ่านอายุมานานและอีกอย่างที่นักสะสมจำเป็นต้องพิจารณาด้วยคือกลิ่น เพราะพระใหม่ขจัดกลิ่นมวลสารออกได้ไม่หมดสนิทและเมื่อประกอบกันเข้าย่อมเข้าใกล้พระแท้เกือบ 80 %  และหากพิมพ์ทรงตรงถูกแล้วก็ใกล้ความจริงเข้าไปแต่ในเรื่องพิมพ์ทรงนั้นในมุมมองความเห็ของข้าพเจ้าเป็นเรื่องที่เมื่อทำการพิมพ์พระออกมาแล้วย่อมมีบางองค์ที่ไม่เป็นไปตามแม่พิมพ์ที่ต้องการออกมาเพราะการยุบ หดตัวของพระที่พิมพ์ออกมาครั้งแรกที่มวลสารยังเปียกแฉะอยู่ย่อมทำให้พิมพ์ทรงผิดเพี้ยนไปได้ด้วยมือของผู้พิมพ์พระเอง หากเราต้องการพระแท้แม้ไม่เข้าประกวดก็อุ่นใจได้ก็ไม่ควรมองข้ามจุดนี้ไป
คราบไคลกรุของเนื้อดิน หากเป็นเนื้อดินที่ฝังไปกับดินต้องมีคราบดินฝังติดแน่นกับเนื้อองค์พระ ไม่มากก็น้อย 
คราบไขขาว อาจเกิดขึ้นได้เมื่อพระกรุนั้นมีความชิ้นขึ้นซึ่ง ไขที่เกิดจะเป็นธรรมชาติไม่มากเกินไปเหมือนตั้งใจทำ
คราบสนิมที่เกิดในองค์พระโลหะ ตัวอย่างเช่นพระเนื้อตะกั่วปรอท ซึ่งเรียกว่าพระสนิมแดง อย่างเช่นตัวอย่างที่มานำเสนอคือ พระท่ากระดานที่ปรากฎสนิมครบทุกอย่างมีทั้งสนิมแดงที่เกิดจากตะกั่วผสมปรอทมีคราบสนิมที่เนื้อตะกั่วทำปฏิกิริยากับความชื้นเป็นคราบให้เห็นอันผ่านเวลาอันยาวนานจึงจะเกิดขึ้นได้หากเป้นคราบที่ทำขึ้นใหม่หรือเอาเนื้อตะกั่วเก่ามาปั๊มใหม่ย่อมไม่เกิดอย่างนี้ไปได้

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมงานวิชาการ