เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อ.เมืองจันทร์, จ.ศรีสะเกษ 33120, Thailand
รับรองโดย อ.mujjalin //mailto:gorn001@gmail.com

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ว่านไพลดำ-ว่านแห่งอิทธิฤทธิ์

         ว่านไพลดำ เป็นว่านในจำพวกแสดงฤทธิ์ออกมาได้ ความหมายของการแสดงฤทธิ์ ออกมานั้นคือ การที่ว่านสามารถออกฤทธิ์ในการรักษาโรค รักษาอาการทางจิตวิญญาณของคนที่ไม่ปกติได้ เช่นการเหม่อลอยด้วยสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ หรืออาการผีเข้าที่ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจกัน เป็นต้น
แล้วในความเป็นจริงนั้นคือ อะไรกันแน่ ระหว่างอาการที่เรียกว่าผีเข้า หรืออาการทางจิตประสาท  เรื่องของภูติผีปีศาจนั้น เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาแต่โบราณกาลทุกชาติทุกภาษาล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับโลกหลังความตายทั้งสิ้น ในส่วนของไทยก็เช่นกัน เมื่อเรื่องราวของผีเกิดขึ้น ว่านต่างๆหรือสิ่งที่แก้ทางในเรื่องดังกล่าวก็ปรากฏขึ้นด้วยตามภูมิปัญญาของครูบาอาจารย์แต่โบราณกาล
         การรักษาโดยว่านนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดมาแต่สมัยใด ในส่วนของบรมครูทางแพทย์แผนโบราณนั้น ก็ยกย่องปู่ชีวกโกมารภัท ผู้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นบรมครูทางแพทย์ จึงอนุมานว่าการเกิดการรักษาโดยวิธีทางธรรมชาตินั้นคงเกิดมาพร้อมกับการเกิดมนุษยชาติ
        ว่านไพลดำเป็นพืชล้มลุก จำพวกพืชมีเหง้าแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในแถบร้อนชื้น ลงหัวในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำในช่วงเดือน ๓- เดือน ๕ มีใบเรียวแหลมก้านใบมีสีดำ ลักษณะโดยรวมเหมือนว่านไพล เพียงแต่มีสีดำของก้านและหัว
        การนำไปใช้ในทางอิทธิวิธี ให้นำต้นลงกระถางต้นไม้ จุดเทียนบูชา ๑ เล่มหรือ ๑ คู่ จุดธูปบูชาเทพคุ้มครองว่านจำนวน ๙ ดอก บอกกล่าวให้ช่วยรักษาคุ้มครองป้องกันภัยจากผีร้าย มารอสูรกายต่างๆ นำไปวางไว้ในสถานที่อันสมควรไม่ต่ำเกินให้คนเดินข้ามไปมา อาจวางไว้ด้านหน้าบ้านเรือนได้
        ว่านไพลดำจะมีอิทธิฤทธิ์ในการคุ้มครองภัยจากอสูรกาย ผีร้ายได้ ซึ่งผีร้ายจำพวกนี้จะมีคาถาอาคม ซึ่งก็ไม่อาจที่จะทนต่ออำนาจว่านนี้ได้
        การนำหัวว่านไปใช้ ให้บอกกล่าวจุดธูปเทียนดังที่ได้แนะนำไว้ก่อน จากนั้นขุดเอาหัว โดยการประกอบพิธีนำหัวไปใช้ทางอิทธิฤทธิ์ ควรทำในวันอังคาร หากนำมาทานเป็นยาด้วย ให้ทำในวันพุธ
        การปลูกและการเก็บหัวว่าน จะปลูกในเดือน ๖ เก็บกู้หัวว่านในเดือน ๓ การนำมาใช้ก็ใช้การขุดเก็บในวันอังคารเพื่อผลทางอิทธิฤทธิ์ ถ้าต้องการผลทางยาให้ใช้วันพุธ
        

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตระกรุดหลวงพ่อทบ วัดพระพุทธบาทชนแดน ยุคต้น




สังเกตุลายพันเชือกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เส้นด้ายต้องเก่าแท้และโดยเนื้อตระกรุดที่เป็นตระกั่วทุบเก่าโบราณต้องเก่ามีสนิมปรอทเจือจางออกสีแดงความเก่าของตระกั่วมีไคลไขตระกั่วออกสีขาวนวลตา